cover

cover

Tuesday, November 17, 2009

ข้อแนะนำสาวไทยที่แต่งงานกับชาวต่างชาติ

ไทยรัฐ ๔ พฤษภาคม ๒๕๕๒

ค่านิยมที่สาวไทยมักเลือกแต่งงานกับชาวต่างชาติ เพราะเชื่อว่าจะสามารถให้ความมั่นคงได้ ทั้งนี้จะให้อยู่กันยืดต้องมาจากความรัก ที่สำคัญต้องมีความพร้อมเรื่องภาษาเป็นองค์ประกอบ???


โครงการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับงานด้านกงสุล โดยเฉพาะการใช้ชีวิตในต่างประเทศ กรมการกงสุลกระทรวงการต่างประเทศ ได้จัดเสวนาเพื่อเป็นความรู้แก่ประชาชนในหัวข้อ ?แต่งงานกับชายต่างชาติ ดีจริงหรือ? ที่กรมการกงสุล ถนนแจ้งวัฒนะเมื่อเร็วๆนี้ โดย นายมนชัย พัชนี ผู้อำนวยการกองคุ้มครองและดูแลผลประโยชน์คนไทยในต่างประเทศกรมการกงสุลกล่าว ว่า จากการสื่อสารทางอินเตอร์เน็ตที่ง่ายและรวดเร็ว ทำให้มีการแต่งงานระหว่างคนต่างชาติมากขึ้น ซึ่งไม่เฉพาะในสังคมไทยเท่านั้น จากการสำรวจกรณีการแต่งงานของคนไทย ปัจจัยหลักที่ทำให้ผู้หญิงไทยแต่งงานกับคนต่างชาติ


ได้แก่ แรงจูงใจทางเศรษฐกิจ มีภาระหนี้สินทางครอบครัว ซึ่งครอบครัวทางเมืองไทยมักคาดหวังว่าจะต้องส่งเงินมาเลี้ยงดู, ปัญหาความล้มเหลวของชีวิตคู่กับชายไทย, การสร้างชีวิตใหม่ โดยเฉพาะสาวขายบริการที่คิดว่า การสร้างครอบครัวกับคนต่างชาติจะได้รับการยอมรับและมีโอกาสมากกว่า สุดท้ายคือ การเลียนแบบและค่านิยม


ผู้หญิงไทยที่นิยมแต่งงานกับชาวต่างชาติมากสุดคือ ชาวจังหวัดนครราชสีมา, ขอนแก่น และอุดรธานี?


ผอ.มนชัยยังกล่าวต่ออีกว่า จากประสบการณ์การทำงานที่ผ่านมา ปัญหาหลักของสาวไทยที่แต่งงานกับชาวต่างชาติคือ ภาษา ที่ไม่สามารถสื่อสารกันได้อย่างลึกซึ้งจนเกิดความเหงา ก่อให้เกิดภาวะซึมเศร้าและปรับตัวกับภาวะแวดล้อมใหม่ไม่ได้ ดังนั้นหากคิดจะแต่งงานกับชาวต่างชาติ


อยากให้สมรสกันด้วยความรัก และมีการเตรียมพร้อมในเรื่องภาษา เพื่อเป็นการเปิดประตูในการเรียนรู้วัฒนธรรมของชาตินั้นๆ?


ด้านกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย คุณอาภรณ์ ใหม่มงคล เจ้าพนักงานปกครองระดับชำนาญการกล่าวว่า สิ่งแรกที่ อยากแนะนำสำหรับหญิงหรือชายที่แต่งงานกับชาวต่างชาติคือ ต้องจดทะเบียนสมรส เป็นเรื่องจำเป็น เพราะภายหน้าไม่รู้ว่าอะไรจะเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการจดทะเบียนสมรสตามกฎหมายไทยหรือตามกฎหมายประเทศคู่สมรส


กรณีการ จดทะเบียนสมรสไทยสามารถ จดได้ที่อำเภอทุกแห่ง ในต่างประเทศก็ที่สถานกงสุล, สถานทูตไทยในต่างแดน ถ้าไม่สะดวกในกฎหมายไทยก็จดตามกฎหมายของประเทศคู่สมรส เพื่อให้มีเอกสารรับรองในการที่จะรับสิทธิต่างๆ?


ในส่วนของการถือสัญชาติ คุณอาภรณ์บอกว่า ตามหลักสากลคนต้องมีสัญชาติเดียว กฎหมายไทยก็ไม่ให้ถือสองสัญชาติ แต่ก็ไม่มีบทลงโทษกรณีที่ถือสองสัญชาติ ซึ่งกฎหมายไทยค่อนข้างจะดูแลผลประโยชน์ของคนไทยสูง ดังนั้นหากบัตรประชาชนหรือเอกสารใดหมดอายุ ขอให้กลับมาต่ออายุ


แต่ มีบางประเทศ เช่น ไต้หวัน มีกฎหมายเข้มงวดให้คนต่างชาติที่แต่งงานกับชาวไต้หวันต้องเสียสัญชาติ กรณีแบบนี้หากไม่จดทะเบียนสมรสอาจจะไม่ได้รับสิทธิหรือสวัสดิการอะไร? ก็สามารถมายื่นขอสละสัญชาติไทยได้ทั้งในประเทศ ที่สถานีตำรวจภูธรจังหวัด กองบัญชาการตำรวจสันติบาล ในต่างประเทศที่สถานทูตไทย เมื่อสละสัญชาติไทยแล้วที่สำคัญต้องไปรับใบสำคัญประจำตัวใบต่างด้าว ไม่เช่นนั้นจะขาดหายไปจากระบบราชการไทย


และถ้าหากจะขอ คืนสัญชาติไทยเมื่อไหร่ ก็สามารถทำได้ โดยนำเอาหลักฐานการสิ้นสุดของการสมรส เช่น ทะเบียนหย่าหรือกรณีการเสียชีวิตของคู่สมรสมาแสดง เพื่อขอคืนสัญชาติก็ทำได้เช่นกัน และไม่ยากเหมือนคนต่างด้าวที่ไม่ใช่คนไทย?


สุดท้าย นางกาญจนวดี สุรกิจบรรหาร แกรทเซน สาวไทยที่สมรสกับชาวเยอรมัน ได้แนะนำการปรับตัวหลังสมรสกับชาวต่างชาติว่า การแต่งงานจะมีความสุขหรือล้มเหลวอยู่ที่การจัดการของตัวเอง การแต่งงานไม่ว่าจะ?

แต่งกับคนไทยหรือชาวต่างชาติ ไม่ได้มีอะไรแตกต่างกันเลย เพราะทั้งคนไทยและชาวต่างชาติล้วนมีทั้งคนดีและไม่ดีในทุกสังคม ความสุขของชีวิตแต่งงานอยู่ที่ความรัก ความเชื่อใจกัน มีมากน้อยเพียงใดและอย่าเอาคู่ของเราไปเปรียบเทียบกับคนอื่น และการที่จะผูกใจสามีและครอบครัวของสามี ก็อยากแนะนำให้ยึดตามวัฒนธรรมไทยเรา ที่ดูแลพ่อแม่สามีเหมือนพ่อแม่ตนเอง.

จดทะเบียนสมรสในต่างประเทศ (เยอรมัน)

มีขั้นตอนดังต่อไปนี้


1. ขอ หนังสือรับรองความเป็นโสด (ฝ่ายไทย)

- ขอได้จาก ที่สำนักงานเขตหรืออำเภอที่เรามีชื่ออยู่ตามทะเบียนบ้าน

- เอกสารที่จำเป็นต้องใช้ คือ

1. บัตรประชาชนตัวจริง + สำเนา

2.ทะเบียนบ้านตัวจริง + สำเนา

3.พยานบุคคล 2 คน อาจเป็นพ่อแม่ พี่น้อง หรือเพื่อนก็ได้


หมายเหตุ

- ทางเขตจะให้เราเขียนคำร้อง ให้เราระบุในคำร้องว่า เพื่อเอาไปจดทะเบียนสมรสกับคนต่างชาติ ทางเขตหรืออำเภอก็จะทำเป็นหนังสือรับรองความเป็นโสด โดยระบุว่าเราไม่เคยจดทะเบียนสมรสกับบุคคลใด



2. ขอ คำร้องงานทะเบียนครอบครัว (ฝ่ายไทย) จำนวน 2 ชุด จากสำนักงานทะเบียนกลาง เพื่อตรวจสอบประวัติการสมรสอีกครั้ง ที่สำนักงานทะเบียนกลางที่นางเลิ้ง กรุงเทพ อยู่ตรงข้ามกับ ธกส. โดยเอาสำเนาบัตรประชาชนไปด้วย อาคาร ๓ ชั้นหนึ่ง


หมายเหตุ เบอร์ติดต่อ โทร ๐๒-๓๕๖๙๖๕๘ เวลา 8.00 ถึง 16.00 น. วันจันทร์ถึงศุกร์


3. นำเอกสารของฝ่ายไทย ไปแปลเป็นภาษาเยอรมัน โดยสถาบันที่แปลจะต้องได้รับการรับรองจากศาลเยอรมันเท่านั้น

เอกสารที่ต้องแปล คือ

3.1 หนังสือรับรองความเป็นโสด

3.2 คำร้องงานทะเบียนครอบครัว

3.3 สูจิบัตร

3.4 ทะเบียนบ้าน


หมายเหตุ วันที่นำเอกสารไปแปล ให้ถ่ายสำเนาเอกสารไว้อย่างน้อยอย่าง 2-3 ชุด

- ค่าแปลเอกสารประมาณ หน้าละ 1,000 บาท

- สถานที่รับแปล คือ สถาบันสอนภาษาเกอเธ่ ใช้เวลาแปลประมาณ 3 วัน หรือ บริษัทรับแปลอื่นๆ (อันนี้ลองค้นหาข้อมูลในเน็ตเอานะจ๊ะ)

- แปลเสร็จแล้วอย่าลืมตรวจเช็คความถูกต้องด้วยนะคะ อันนี้สำคัญ



4. นำเอกสารทั้งหมดที่แปลเรียบร้อยแล้ว พร้อมสำเนา 2 ชุด ไปยื่นรับรองเอกสารที่สถานฑูตเยอรมัน ถนนสาธร วันจันทร์ ศุกร์ ตั้งแต่เวลา 8.30 12.00 น.

โดยไม่ต้องนัดหมายล่วงหน้า



เอกสารที่ต้องนำไป คือ

4.1 หนังสือเดินทางของฝ่ายไทยตัวจริง + สำเนา 2 ชุด

4.2 หนังสือรับรองความเป็นโสดตัวจริง +ที่แปลเป็นภาษาเยอรมัน + สำเนา 2 ชุด

4.3 คำร้องงานทะเบียนครอบครัวตัวจริง +ที่แปลเป็นภาษาเยอรมัน +สำเนา 2 ชุด

4.4 สูจิบัตรตัวจริง + ที่แปลเป็นภาษาเยอรมัน +สำเนา 2 ชุด

4.5 ทะเบียนบ้านตัวจริง + ที่แปลเป็นภาษาเยอรมัน + สำเนา 2 ชุด


หมายเหตุ

ขั้นตอนนี้ใช้เวลาประมาณ 4 สัปดาห์ในการรับรองเอกสาร

- ค่าใช้จ่ายขึ้นอยู่กับกรณีและอัตราแลกเปลี่ยน ณ ขณะนั้น ส่วนใหญ่ประมาณ ชุดละ 1,170 2,000 บาท

- เมื่อสถานฑูตรับรองเอกสารเรียบร้อยแล้ว ก็จะโทรมาแจ้งให้เราไปรับเอง หรือให้ทางสถานฑูตจัดส่งไปให้ฝ่ายเยอรมันที่เยอรมันก็ได้



***ในระหว่างขั้นตอนนี้ ฝ่ายไทยสามารถดำเนินการยื่นวีซ่าสมรสได้เลย

โดยด้องโทรจองคิวนัดล่วงหน้ากับทางสถานฑูต และเอกสารที่ต้องใช้ คือ


1.รูปถ่ายหน้าตรง ฉากหลังสีขาว 4 รูป

2.สำเนาหนังสือเดินทางที่ผ่านการรับรองโดยสถานฑูตเยอรมัน

3.ใบสอบผ่านภาษาเยอรมันขั้นพื้นฐาน หรือที่เรียกว่า A1 : Start deutsch 1

(หากยังอยู่ระหว่างการดำเนินการสอบอยู่ ค่อยยื่นที่หลังก็ได้)

4.สำเนาเอกสารแต่งงานทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้น +สำเนาที่แปลเป็นภาษาเยอรมันแล้ว




5. เมื่อเรา(ฝ่ายไทย)ได้รับเอกสารที่ทางสถานฑูตรับรองว่าถูกต้องไม่มีการปลอมแปลงแล้ว ให้จัดส่งเอกสารทั้งหมด ให้ฝ่ายเยอรมัน เพื่อขอหนังสือรับรองสถานะการสมรส หรือที่เรียกว่า Ehefähigkeitszeugnis ซึ่งอนุญาตให้ฝ่ายเยอรมันจดทะเบียนสมรสได้


อย่าลืม *** เอกสารที่ต้องส่งไปให้ฝ่ายเยอรมันด้วยนอกจากเอกสารแต่งงานแล้ว คือ

1.สำเนาหนังสือเดินทางของฝ่ายไทยที่ผ่านการรับรองจากสถานฑูตเยอรมัน

2. หนังสือมอบอำนาจให้ฝ่ายเยอรมันสามารถดำเนินการเรื่องจดทะเบียนสมรสแทนเราที่ เยอรมัน ที่เรียกว่า Vollmacht zur Anmeldung der Eheschliessung (ขอได้จากสถานฑูตเยอรมัน ถนนสาธร)

3.กรณีฝ่ายไทยที่เคยหย่ามาก่อน จะต้องมีเอกสารตรวจสอบการหย่าร้างด้วย (อันนี้ไม่ค่อยแน่ใจ ลองถามสถานฑูตอีกที)


เอกสารสำหรับฝ่ายเยอรมันเพื่อขอ Ehefähigkeitszeugnis คือ

1. หนังสือเดินทาง หรือ บัตรประชาชน

2. ใบรับรองถิ่นพำนักในประเทศเยอรมัน หรือ ใบแจ้งย้ายสำมะโนครัวออกจากประเทศเยอรมัน

3. สูติบัตร หรือ สำเนาที่คัดจากสมุดทะเบียนครอบครัว (ของบิดา-มารดา)

4. คำพิพากษาหย่าที่มีตราประทับรับรองว่ามีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย หรือ มรณบัตรของคู่สมรสเดิม


หมายเหตุ


- คู่สมรสฝ่ายเยอรมันจะต้องยื่นคำร้องทางสำนักทะเบียนที่ตนมีถิ่นพำนักสังกัด ในประเทศเยอรมัน หรือ ในกรณีที่ไม่มีถิ่นพำนักในประเทศเยอรมันต้องยื่นคำร้องขอไปยังส ำนักทะเบียนเยอรมันที่ผู้ร้องเคยแจ้งพำนักอยู่เป็นครั้งสุดท้าย

แบบฟอร์มคำร้องขอรับได้ที่สถานทูต สำนักทะเบียนเยอรมัน หรือจากเว็บไซต์ www.berlin.de/standesamt1/partner schaft

ทั้งนี้ในการยื่นคำร้อง ฝ่ายเย อรมันจะต้องแสดงเอกสารของคู่สมรสฝ่ายไทยต่อนายทะเบียนเยอรมันด้วย

เพราะนายทะเบียน จะต้องตรวจสอบว่าคู่สมรสทั้งสอง มีคุณสมบัติครบถ้วนตามกฎหมายเยอรมันที่จะทำการจดทะเบียนสมรสกัน หรือไม่


อ้างอิง

http://www.bangkok.diplo.de/Vertretung/bangkok/th/04/Heirat/ Heirat__unterbereich.html



6. เมื่อสำนักทะเบียนที่เยอรมันตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารแล้ว ฝ่ายเยอรมัน ต้องขอใบอนุญาตจากศาลสูงเพื่อตรวจสอบและอนุมัติจดทะเบียนสมรสอีกครั้งหนึ่ง ขั้นตอนนี้ใช้เวลาประมาณ 4 สัปดาห์


7.เมื่อได้รับใบอนุญาตจากศาลแล้ว เราก็สามารถระบุวัน เวลาที่จดทะเบียนสมรส เพื่อจดทะเบียนสมรสได้


8.หลังจากนั้น สถานฑูตจะโทรแจ้งผลการอนุมัติวีซ่าสมรสให้กับฝ่ายไทย ...




Thursday, November 5, 2009

จดทะเบียนสมรสกับชาวต่างชาติ

การจดทะเบียนสมรสกับชาวต่างชาตินั้น หลายๆคนอาจคิดว่าเป็นเรื่องยุ่งยาก เพราะต้องใช้เอกสารเยอะ แต่อย่าเพิ่งท้อใจไปค่ะ เพราะความจริงแล้ว มันไม่ได้ยุ่งยากอะไรเลย วันนี้หญิงรวบรวมข้อมูลต่างๆเกี่ยวกับการจดทะเบียนสมรสกับชาวต่างชาติ (โดยเฉพาะกับชาวเยอรมัน) มาเก็บไว้ในบล๊อคเพื่อเป็นประโยชน์กับคนอื่นๆบ้าง โดยขอแบ่งเป็น 2 กรณีคือ


  • การจดทะเบียนสมรสในประเทศไทย
  • การจดทะเบียนสมรสในต่างประเทศ




การจดทะเบียนสมรสในประเทศไทย

มีขั้นตอนดังต่อไปนี้

1. ขอ หนังสือรับรองความเป็นโสด (ฝ่ายไทย)

- ขอได้จาก ที่สำนักงานเขตหรืออำเภอที่เรามีชื่ออยู่ตามทะเบียนบ้าน

- เอกสารที่จำเป็นต้องใช้ คือ

1. บัตรประชาชนตัวจริง + สำเนา

2.ทะเบียนบ้านตัวจริง + สำเนา

3.พยานบุคคล 2 คน อาจเป็นพ่อแม่ พี่น้อง หรือเพื่อนก็ได้


หมายเหตุ

- ทางเขตจะให้เราเขียนคำร้อง ให้เราระบุในคำร้องว่า เพื่อเอาไปจดทะเบียนสมรสกับคนต่างชาติ ทางเขตหรืออำเภอก็จะทำเป็นหนังสือรับรองความเป็นโสด โดยระบุว่าเราไม่เคยจดทะเบียนสมรสกับบุคคลใด



2. ขอ คำร้องงานทะเบียนครอบครัว (ฝ่ายไทย) จำนวน 2 ชุด จากสำนักงานทะเบียนกลาง เพื่อตรวจสอบประวัติการสมรสอีกครั้ง ที่สำนักงานทะเบียนกลางที่นางเลิ้ง กรุงเทพ อยู่ตรงข้ามกับ ธกส. โดยเอาสำเนาบัตรประชาชนไปด้วย อาคาร ๓ ชั้นหนึ่ง


หมายเหตุ เบอร์ติดต่อ โทร ๐๒-๓๕๖๙๖๕๘ เวลา 8.00 ถึง 16.00 น. วันจันทร์ถึงศุกร์


3. นำเอกสารของฝ่ายไทย ไปแปลเป็นภาษาเยอรมัน โดยสถาบันที่แปลจะต้องได้รับการรับรองจากศาลเยอรมันเท่านั้น

เอกสารที่ต้องแปล คือ

3.1 หนังสือรับรองความเป็นโสด

3.2 คำร้องงานทะเบียนครอบครัว

3.3 สูจิบัตร

3.4 ทะเบียนบ้าน


หมายเหตุ วันที่นำเอกสารไปแปล ให้ถ่ายสำเนาเอกสารไว้อย่างน้อยอย่าง 2-3 ชุด

- ค่าแปลเอกสารประมาณ หน้าละ 1,000 บาท

- สถานที่รับแปล คือ สถาบันสอนภาษาเกอเธ่ ใช้เวลาแปลประมาณ 3 วัน หรือ บริษัทรับแปลอื่นๆ (อันนี้ลองค้นหาข้อมูลในเน็ตเอานะจ๊ะ)

- แปลเสร็จแล้วอย่าลืมตรวจเช็คความถูกต้องด้วยนะคะ อันนี้สำคัญ



4. นำเอกสารทั้งหมดที่แปลเรียบร้อยแล้ว พร้อมสำเนา 2 ชุด ไปยื่นรับรองเอกสารที่สถานฑูตเยอรมัน ถนนสาธร วันจันทร์ ศุกร์ ตั้งแต่เวลา 8.30 12.00 น.

โดยไม่ต้องนัดหมายล่วงหน้า



เอกสารที่ต้องนำไป คือ

4.1 หนังสือเดินทางของฝ่ายไทยตัวจริง + สำเนา 2 ชุด

4.2 หนังสือรับรองความเป็นโสดตัวจริง +ที่แปลเป็นภาษาเยอรมัน + สำเนา 2 ชุด

4.3 คำร้องงานทะเบียนครอบครัวตัวจริง +ที่แปลเป็นภาษาเยอรมัน +สำเนา 2 ชุด

4.4 สูจิบัตรตัวจริง + ที่แปลเป็นภาษาเยอรมัน +สำเนา 2 ชุด

4.5 ทะเบียนบ้านตัวจริง + ที่แปลเป็นภาษาเยอรมัน + สำเนา 2 ชุด



หมายเหตุ

ขั้นตอนนี้ใช้เวลาประมาณ 4 สัปดาห์ในการรับรองเอกสาร

- ค่าใช้จ่ายขึ้นอยู่กับกรณีและอัตราแลกเปลี่ยน ณ ขณะนั้น ส่วนใหญ่ประมาณ ชุดละ 1,170 2,000 บาท

- เมื่อสถานฑูตรับรองเอกสารเรียบร้อยแล้ว ก็จะโทรมาแจ้งให้เราไปรับเอง หรือให้ทางสถานฑูตจัดส่งไปให้ฝ่ายเยอรมันที่เยอรมันก็ได้



5. เมื่อเรา(ฝ่ายไทย)ได้รับเอกสารที่ทางสถานฑูตรับรองว่าถูกต้องไม่มีการปลอมแปลงแล้ว ให้จัดส่งเอกสารทั้งหมด ให้ฝ่ายเยอรมัน เพื่อขอหนังสือรับรองสถานะการสมรส หรือที่เรียกว่า Ehefähigkeitszeugnis ซึ่งอนุญาตให้ฝ่ายเยอรมันจดทะเบียนสมรสได้


เอกสารสำหรับฝ่ายเยอรมันเพื่อขอ Ehefähigkeitszeugnis คือ

1. หนังสือเดินทาง หรือ บัตรประชาชน

2. ใบรับรองถิ่นพำนักในประเทศเยอรมัน หรือ ใบแจ้งย้ายสำมะโนครัวออกจากประเทศเยอรมัน

3. สูติบัตร หรือ สำเนาที่คัดจากสมุดทะเบียนครอบครัว (ของบิดา-มารดา)

4. คำพิพากษาหย่าที่มีตราประทับรับรองว่ามีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย หรือ มรณบัตรของคู่สมรสเดิม


หมายเหตุ


- คู่สมรสฝ่ายเยอรมันจะต้องยื่นคำร้องทางสำนักทะเบียนที่ตนมีถิ่นพำนักสังกัดในประเทศเยอรมัน หรือ ในกรณีที่ไม่มีถิ่นพำนักในประเทศเยอรมันต้องยื่นคำร้องขอไปยังส ำนักทะเบียนเยอรมันที่ผู้ร้องเคยแจ้งพำนักอยู่เป็นครั้งสุดท้าย

แบบฟอร์มคำร้องขอรับได้ที่สถานทูต สำนักทะเบียนเยอรมัน หรือจากเว็บไซต์ www.berlin.de/standesamt1/partner schaft

ทั้งนี้ในการยื่นคำร้อง ฝ่ายเย อรมันจะต้องแสดงเอกสารของคู่สมรสฝ่ายไทยต่อนายทะเบียนเยอรมันด้วย

เพราะนายทะเบียน จะต้องตรวจสอบว่าคู่สมรสทั้งสอง มีคุณสมบัติครบถ้วนตามกฎหมายเยอรมันที่จะทำการจดทะเบียนสมรสกัน หรือไม่



อ้างอิง

http://www.bangkok.diplo.de/Vertretung/bangkok/th/04/Heirat/ Heirat__unterbereich.html




6. นำหนังสือรับรองสถานะการสมรส (Ehefähigkeitszeugnis ) ฝ่ายเยอรมัน ไปยื่นให้สถานทูตเยอรมัน ถนนสาธร ออกหนังสือรับรองสถานภาพโสด หรือที่เรียกว่า Konsularbescheinigung โดยทางสถานฑูตจะแปลเป็นภาษาไทย ให้เรียบร้อย



หมายเหตุ

ใช้เวลาประมาณ 2-3 วัน

- ค่าธรรมเนียม ๕๐ ยูโร

- นำหนังสือเดินทางตัวจริงของฝ่ายเยอรมันและฝ่ายไทยไปยื่นด้วย

- ฝ่ายเยอรมันต้องแจ้ง ข้อมูลส่วนตัวต่อสถานฑูตด้วย เช่น อาชีพ รายได้ ภาระ บุคคลอ้างอิง 2 คน

- ฝ่ายเยอรมันจะต้องเข้ามารับหนังสือรับรอง Konsularbescheinigung นี้ ด้วยตัวเอง



7. ต้องนำหนังสือรับรอง Konsularbescheinigung ไปประทับตรารับรองอีกครั้ง ที่กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศของไทย จึงจะนำไปจดทะเบียนสมรสได้ (สำนักทะเบียนบางแห่ง เช่นเขตบางรัก ยกเว้นการรับรองจากกระทรวงการต่างประเทศได้


www.berlin.de/standesamt1/partnerschaft

www.berlin.de/sen/justiz/struktur/a2_ausl_scheidg_hinw.html





8. ไปจดทะเบียนสมรส

***** แนะนำให้จดทะเบียนที่เขตบางรัก จะสะดวกและรวดเร็ว

เพราะไม่ต้องนำหนังสือรับรองสถานภาพโสดของฝ่ายเยอรมันไปยื่นที่ ฝ่ายนิติกรณ์ กรมกงศุล กระทรวงต่างประเทศอีก

แต่ถ้าไม่จดทะเบียนที่เขตบางรัก จำเป็นต้องไปยื่นเอกสารที่ฝ่ายนิติกรณ์ กรมการกงสุล กระทรวงต่างประเทศ ถ. แจ้งวัฒนะ รับรองเอกสาร ใช้เวลา ๒ วัน ค่าธรรมเนียม ๒๐๐ บาท ถ้ารอรับ ค่าธรรมเนียม ๔๐๐ บาท แล้วจึงสามารถจดทะเบียนได้



เอกสารที่ใช้จดทะเบียนสมรส

ฝ่ายไทย

บัตรประชาชนตัวจริง + สำเนาทะเบียนบ้าน

ฝ่ายเยอรมัน

หนังสือรับรองความโสดสถานภาพโสด ที่แปลเป็นภาษาไทย ออกโดยสถานฑูตเยอรมัน +หนังสือเดินทางตัวจริง + สำเนาหนังสือเดินทาง



หมายเหตุ

- นำพยานที่สามารถเป็นล่ามได้ ๒ คน

- ถ้าไปเขตบางรัก อาจขอให้เจ้าหน้าที่ช่วยเป็นพยานให้ก็ได้ ไม่เสียค่าธรรมเนียมใดใด ไม่เหมือนเขตอื่นๆ (อันนี้ไม่แน่ใจ เห็นคนอื่นเล่ามาให้ฟังอีกที)

Followers