cover

cover

Thursday, November 5, 2009

จดทะเบียนสมรสกับชาวต่างชาติ

การจดทะเบียนสมรสกับชาวต่างชาตินั้น หลายๆคนอาจคิดว่าเป็นเรื่องยุ่งยาก เพราะต้องใช้เอกสารเยอะ แต่อย่าเพิ่งท้อใจไปค่ะ เพราะความจริงแล้ว มันไม่ได้ยุ่งยากอะไรเลย วันนี้หญิงรวบรวมข้อมูลต่างๆเกี่ยวกับการจดทะเบียนสมรสกับชาวต่างชาติ (โดยเฉพาะกับชาวเยอรมัน) มาเก็บไว้ในบล๊อคเพื่อเป็นประโยชน์กับคนอื่นๆบ้าง โดยขอแบ่งเป็น 2 กรณีคือ


  • การจดทะเบียนสมรสในประเทศไทย
  • การจดทะเบียนสมรสในต่างประเทศ




การจดทะเบียนสมรสในประเทศไทย

มีขั้นตอนดังต่อไปนี้

1. ขอ หนังสือรับรองความเป็นโสด (ฝ่ายไทย)

- ขอได้จาก ที่สำนักงานเขตหรืออำเภอที่เรามีชื่ออยู่ตามทะเบียนบ้าน

- เอกสารที่จำเป็นต้องใช้ คือ

1. บัตรประชาชนตัวจริง + สำเนา

2.ทะเบียนบ้านตัวจริง + สำเนา

3.พยานบุคคล 2 คน อาจเป็นพ่อแม่ พี่น้อง หรือเพื่อนก็ได้


หมายเหตุ

- ทางเขตจะให้เราเขียนคำร้อง ให้เราระบุในคำร้องว่า เพื่อเอาไปจดทะเบียนสมรสกับคนต่างชาติ ทางเขตหรืออำเภอก็จะทำเป็นหนังสือรับรองความเป็นโสด โดยระบุว่าเราไม่เคยจดทะเบียนสมรสกับบุคคลใด



2. ขอ คำร้องงานทะเบียนครอบครัว (ฝ่ายไทย) จำนวน 2 ชุด จากสำนักงานทะเบียนกลาง เพื่อตรวจสอบประวัติการสมรสอีกครั้ง ที่สำนักงานทะเบียนกลางที่นางเลิ้ง กรุงเทพ อยู่ตรงข้ามกับ ธกส. โดยเอาสำเนาบัตรประชาชนไปด้วย อาคาร ๓ ชั้นหนึ่ง


หมายเหตุ เบอร์ติดต่อ โทร ๐๒-๓๕๖๙๖๕๘ เวลา 8.00 ถึง 16.00 น. วันจันทร์ถึงศุกร์


3. นำเอกสารของฝ่ายไทย ไปแปลเป็นภาษาเยอรมัน โดยสถาบันที่แปลจะต้องได้รับการรับรองจากศาลเยอรมันเท่านั้น

เอกสารที่ต้องแปล คือ

3.1 หนังสือรับรองความเป็นโสด

3.2 คำร้องงานทะเบียนครอบครัว

3.3 สูจิบัตร

3.4 ทะเบียนบ้าน


หมายเหตุ วันที่นำเอกสารไปแปล ให้ถ่ายสำเนาเอกสารไว้อย่างน้อยอย่าง 2-3 ชุด

- ค่าแปลเอกสารประมาณ หน้าละ 1,000 บาท

- สถานที่รับแปล คือ สถาบันสอนภาษาเกอเธ่ ใช้เวลาแปลประมาณ 3 วัน หรือ บริษัทรับแปลอื่นๆ (อันนี้ลองค้นหาข้อมูลในเน็ตเอานะจ๊ะ)

- แปลเสร็จแล้วอย่าลืมตรวจเช็คความถูกต้องด้วยนะคะ อันนี้สำคัญ



4. นำเอกสารทั้งหมดที่แปลเรียบร้อยแล้ว พร้อมสำเนา 2 ชุด ไปยื่นรับรองเอกสารที่สถานฑูตเยอรมัน ถนนสาธร วันจันทร์ ศุกร์ ตั้งแต่เวลา 8.30 12.00 น.

โดยไม่ต้องนัดหมายล่วงหน้า



เอกสารที่ต้องนำไป คือ

4.1 หนังสือเดินทางของฝ่ายไทยตัวจริง + สำเนา 2 ชุด

4.2 หนังสือรับรองความเป็นโสดตัวจริง +ที่แปลเป็นภาษาเยอรมัน + สำเนา 2 ชุด

4.3 คำร้องงานทะเบียนครอบครัวตัวจริง +ที่แปลเป็นภาษาเยอรมัน +สำเนา 2 ชุด

4.4 สูจิบัตรตัวจริง + ที่แปลเป็นภาษาเยอรมัน +สำเนา 2 ชุด

4.5 ทะเบียนบ้านตัวจริง + ที่แปลเป็นภาษาเยอรมัน + สำเนา 2 ชุด



หมายเหตุ

ขั้นตอนนี้ใช้เวลาประมาณ 4 สัปดาห์ในการรับรองเอกสาร

- ค่าใช้จ่ายขึ้นอยู่กับกรณีและอัตราแลกเปลี่ยน ณ ขณะนั้น ส่วนใหญ่ประมาณ ชุดละ 1,170 2,000 บาท

- เมื่อสถานฑูตรับรองเอกสารเรียบร้อยแล้ว ก็จะโทรมาแจ้งให้เราไปรับเอง หรือให้ทางสถานฑูตจัดส่งไปให้ฝ่ายเยอรมันที่เยอรมันก็ได้



5. เมื่อเรา(ฝ่ายไทย)ได้รับเอกสารที่ทางสถานฑูตรับรองว่าถูกต้องไม่มีการปลอมแปลงแล้ว ให้จัดส่งเอกสารทั้งหมด ให้ฝ่ายเยอรมัน เพื่อขอหนังสือรับรองสถานะการสมรส หรือที่เรียกว่า Ehefähigkeitszeugnis ซึ่งอนุญาตให้ฝ่ายเยอรมันจดทะเบียนสมรสได้


เอกสารสำหรับฝ่ายเยอรมันเพื่อขอ Ehefähigkeitszeugnis คือ

1. หนังสือเดินทาง หรือ บัตรประชาชน

2. ใบรับรองถิ่นพำนักในประเทศเยอรมัน หรือ ใบแจ้งย้ายสำมะโนครัวออกจากประเทศเยอรมัน

3. สูติบัตร หรือ สำเนาที่คัดจากสมุดทะเบียนครอบครัว (ของบิดา-มารดา)

4. คำพิพากษาหย่าที่มีตราประทับรับรองว่ามีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย หรือ มรณบัตรของคู่สมรสเดิม


หมายเหตุ


- คู่สมรสฝ่ายเยอรมันจะต้องยื่นคำร้องทางสำนักทะเบียนที่ตนมีถิ่นพำนักสังกัดในประเทศเยอรมัน หรือ ในกรณีที่ไม่มีถิ่นพำนักในประเทศเยอรมันต้องยื่นคำร้องขอไปยังส ำนักทะเบียนเยอรมันที่ผู้ร้องเคยแจ้งพำนักอยู่เป็นครั้งสุดท้าย

แบบฟอร์มคำร้องขอรับได้ที่สถานทูต สำนักทะเบียนเยอรมัน หรือจากเว็บไซต์ www.berlin.de/standesamt1/partner schaft

ทั้งนี้ในการยื่นคำร้อง ฝ่ายเย อรมันจะต้องแสดงเอกสารของคู่สมรสฝ่ายไทยต่อนายทะเบียนเยอรมันด้วย

เพราะนายทะเบียน จะต้องตรวจสอบว่าคู่สมรสทั้งสอง มีคุณสมบัติครบถ้วนตามกฎหมายเยอรมันที่จะทำการจดทะเบียนสมรสกัน หรือไม่



อ้างอิง

http://www.bangkok.diplo.de/Vertretung/bangkok/th/04/Heirat/ Heirat__unterbereich.html




6. นำหนังสือรับรองสถานะการสมรส (Ehefähigkeitszeugnis ) ฝ่ายเยอรมัน ไปยื่นให้สถานทูตเยอรมัน ถนนสาธร ออกหนังสือรับรองสถานภาพโสด หรือที่เรียกว่า Konsularbescheinigung โดยทางสถานฑูตจะแปลเป็นภาษาไทย ให้เรียบร้อย



หมายเหตุ

ใช้เวลาประมาณ 2-3 วัน

- ค่าธรรมเนียม ๕๐ ยูโร

- นำหนังสือเดินทางตัวจริงของฝ่ายเยอรมันและฝ่ายไทยไปยื่นด้วย

- ฝ่ายเยอรมันต้องแจ้ง ข้อมูลส่วนตัวต่อสถานฑูตด้วย เช่น อาชีพ รายได้ ภาระ บุคคลอ้างอิง 2 คน

- ฝ่ายเยอรมันจะต้องเข้ามารับหนังสือรับรอง Konsularbescheinigung นี้ ด้วยตัวเอง



7. ต้องนำหนังสือรับรอง Konsularbescheinigung ไปประทับตรารับรองอีกครั้ง ที่กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศของไทย จึงจะนำไปจดทะเบียนสมรสได้ (สำนักทะเบียนบางแห่ง เช่นเขตบางรัก ยกเว้นการรับรองจากกระทรวงการต่างประเทศได้


www.berlin.de/standesamt1/partnerschaft

www.berlin.de/sen/justiz/struktur/a2_ausl_scheidg_hinw.html





8. ไปจดทะเบียนสมรส

***** แนะนำให้จดทะเบียนที่เขตบางรัก จะสะดวกและรวดเร็ว

เพราะไม่ต้องนำหนังสือรับรองสถานภาพโสดของฝ่ายเยอรมันไปยื่นที่ ฝ่ายนิติกรณ์ กรมกงศุล กระทรวงต่างประเทศอีก

แต่ถ้าไม่จดทะเบียนที่เขตบางรัก จำเป็นต้องไปยื่นเอกสารที่ฝ่ายนิติกรณ์ กรมการกงสุล กระทรวงต่างประเทศ ถ. แจ้งวัฒนะ รับรองเอกสาร ใช้เวลา ๒ วัน ค่าธรรมเนียม ๒๐๐ บาท ถ้ารอรับ ค่าธรรมเนียม ๔๐๐ บาท แล้วจึงสามารถจดทะเบียนได้



เอกสารที่ใช้จดทะเบียนสมรส

ฝ่ายไทย

บัตรประชาชนตัวจริง + สำเนาทะเบียนบ้าน

ฝ่ายเยอรมัน

หนังสือรับรองความโสดสถานภาพโสด ที่แปลเป็นภาษาไทย ออกโดยสถานฑูตเยอรมัน +หนังสือเดินทางตัวจริง + สำเนาหนังสือเดินทาง



หมายเหตุ

- นำพยานที่สามารถเป็นล่ามได้ ๒ คน

- ถ้าไปเขตบางรัก อาจขอให้เจ้าหน้าที่ช่วยเป็นพยานให้ก็ได้ ไม่เสียค่าธรรมเนียมใดใด ไม่เหมือนเขตอื่นๆ (อันนี้ไม่แน่ใจ เห็นคนอื่นเล่ามาให้ฟังอีกที)

11 comments:

  1. สวัสดีค่ะคุณหญิง
    ชื่อนกนะค่ะ ยินดีที่ได้รู้จักค่ะ ข้อมูลของคุณหญิงดีมากเลยค่ะ ทีนี่นกมีเรื่องอยากเล่าและอยากถามคุณหญิงมากมาย เรื่องมีอยู่ว่าเมื่อสามเดือนที่แล้วนกได้รับมอบอำนาจจากแ่ม่เพื่อเตรียมเอกสารทำเรื่องแต่งงานแม่ ทุกอย่างก็ทำเสร็จเรียบร้อยพอส่งไปให้แม่แม่ก็ไปยื่นเรื่องขอแต่งงานที่โน้น หลังจากนั้นสามเดือนให้หลังที่เยอรมันตอบกลับมาว่าเอกสารไม่สมบูรณ์หรือเอกสารปลอม! แม่นกก็ไม่เข้าใจ พอนกมาอ่านบล็อกคุณหญิงเลยถึงบางอ้อว่า หลังจากนำเอกสารที่รับรองจากกงศุลหลักสี่แล้วต้องเอาไปแปลที่เกอเธ่แล้วก็เอาไปรับรองที่สถานทูตเยอรมันอีกที ซึ่งตรงนี้นกไม่ได้ทำเพราะไม่ทราบจริง ๆ ค่ะว่าจะต้องทำทางแม่นกเองก็ไม่ทราบเพราะแม่เค้ารู้หนังสือน้อย มีปัญหาเอกสารทีไรก็จ้างทนายที่โน้นเสียเงินไปก็เยอะ

    นกคิดว่านกคงต้องได้ทำเรื่องเอกสารให้แม่ให้ ก็คงจะทำตามขั้นตอนที่คุณหญิงเขียนไว้

    แต่ทีนี้มีข้อสงสัยว่า แม่นกกับแฟนเค้าไม่มาจดทะเบียนที่ เมืองไทยได้ไหมค่ะ์?
    -แล้วเวลาเอกสารสารไปให้สถานทูตเยอรมันที่กรุงเทพรับรองต้องใช้ใบมอบอำนาจด้วยไหมค่ะ?

    รบกวนช่วยตอบด้วยนะค่ะ

    ขอบคุณคุ่ะ

    นก

    ReplyDelete
  2. สวัสดีค่ะ คุณ นก

    ไม่ทราบว่าตอนนี้คุณแม่ของคุณ นก อยู่ที่ไหนค่ะ เมืองไทยหรือที่เยอรมัน ถ้าอยู่ที่เยอรมันแล้วคุณแม่ใช่วีซ่าอะไรเอย ..ท่องเที่ยว หรือวีซ่าอะไร เพราะถ้าคุณแม่ต้องการจดทะเบียนสมรสที่เยอรมัน ก็สามารถทำได้ค่ะ แต่ต้องขอวีซ่าสมรสนะคะ
    ส่วนเรื่องเอกสาร หญิงคิดว่า คุณแม่ต้องเขียนใบมอบอำนาจให้คุณนกนะคะ เพราะหญิงเคยไปเดินเรื่องเอกสารให้กับสามีที่สถานฑูต เค้ายังถามถึงใบมอบอำนาจเลยค่ะ

    คุณนกลองเข้าไปตั้งคำถามในเวบเลดี้อินเตอร์ดูก็น่าจะดีนะคะ เพราะมีหลายคนที่มีประสบการณ์ไปจดทะเบียนสมรสที่เยอรมัน ว่าต้องทำยังไงบ้าง
    http://www.ladyinter.com

    หญิงค่ะ
    ถ้ามีอะไรสงสัย รบกวนคุณนกเขียนอีเมล์มาหาหญิงจะสะดวกกว่าค่ะ เพราะบางทีไม่ได้เข้ามาในบล๊อคทุกวัน
    อีเมล์หญิงนะคะ yingecon@yahoo.com

    ReplyDelete
  3. แฟนเป็นคนเยอรมันค่ะ ตอนนี้กำลังเตรียมเอกสารจะจดทะเบียนกันค่ะ แต่เอมเคยแต่งงานมาแล้วและหย่าเมื่อไม่นานมานี้ค่ะ เคยสอบถามทางเยอรมันได้คำตอบว่าต้องใช้ทะเบียนสมรสตัวเก่าด้วยแต่ตอนนี้ทะเบียนสมรสนั้นไม่มีแล้วค่ะต้องทำอย่างไรบ้างคะ

    ReplyDelete
  4. สัวสดีค่ะ ชื่อโย อยากทราบว่าถ้าจะแต่งงานกับชาวเยอรมันที่เมืองไทยแต่ไม่ต้องการไปอาศัยอยู่ที่นั่นต้องเรียนภาษาด้วยหรือเปล่าค่ะ

    ReplyDelete
  5. ตอบคุณโย ..ไม่จำเป็นต้องเรียนค่ะ

    ReplyDelete
  6. สวัสดีค่ะ อยากขอคำแนะนำค่ะ
    คือตอนนี้ญาติของเมย์ได้แต่งงานกับช่าวเยอรมัน แต่ปัจจุบัน สามีเค้าได้เสียชีวิตแล้ว ตอนนี้ญาติได้เงินอยู่ประจำทุกเดือน แต่ปัจจุบันมีปัญหาคือ เงินเข้าบ้างไม่เข้าบ้าง เพราะปกติต้องมีการส่งเอกสารไปยืนยัน ว่าเรายังไม่มีตัวตนอยู่ซึ่งเดินเรื่องผ่านเพื่อนที่อาศัยอยู่ที่ประเทศเยอรมันค่ะ เพื่อนได้บอกว่าสาเหตุที่้เงินไม่เข้าบัญชีเนื่องจากทางประเทศเยอรมันแจ้งว่า ประชากรของเค้าก้ยากจน ไม่อยากนำเงินออกนอกประเทศ คือจะตัดเงินเราอ่าค่ะ ไม่ทราบว่าจริงหรือไม่ แล้วเป็นเพราะเหตุใดเงินถึงไม่เข้าบัญชี และอยากสอบถามวิธีเดินเรื่องเองโดยไม่ผ่านคนกลาง ต้องทำอย่างไรบ้างคะ ขอขอบคุณล่วงหน้าค่ะ

    ReplyDelete
  7. สวัสดีครับ ผมกำลังจะแต่งงานกับหญิงชาวเยอรมัน มีข้อสงสัยอยากถามครับ เพราะทราบมาว่าต้องสอบผ่านภาษาระดับ A1 ก่อน หรือไม่ก็ต้องจบปริญญาตรี
    http://www.thailaendisch.de/thai/heiratsvisum.html
    จึงอยากทราบว่าถ้าจบปริญญาตรีแต่ยังไม่ได้เรียนภาษาจะได้ไหมครับ. เพราะผมคิดว่าจะไปเรียนภาษาที่เยอรมันเลย คือแฟนผมคิดจะมาจดทะเบียนกันที่เมืองไทย
    และถ้าเป็นไปได้อยากให้ผมไปเยอรมันให้เร็วที่สุดครับ จึงอยากทราบว่า จำเป็นไหมต้องเรียนและสอบภาษาให้ผ่านก่อน
    รบกวนช่วยตอบด้วยนะครับ ขอบคุณมากๆ ครับ
    จาก..จักรพันธ์

    ReplyDelete
    Replies
    1. ตอนนี้กฎหมายเยรมันบังคับคนที่จะมาแ่ต่งงานกับชาวเยรมัน ให้เรียนภาษาเยรมันพื้นฐานที่เมืองไทย A1 มาก่อน หลังจากนั้นแล้วการมาอยู่ที่นี่ ก็ต้องเรียนภาษาพื่มอีก 900 ร้อยชั่วโมง ประมาณ9เดือน ถ้าไม่เช่นนั้นแล้วจะต้องต่อวีซ่าเรื่อยๆ สาเหตุคือเราไม่รู้ว่าเราจะสามารถอยู่กับคนที่มาแต่งงานได้นานหรือไม่ ถ้ามีการหย่าร้างเกิดขึ้นมาจะลำบาก ผมแนะนำให้เรียนต่อจะดีกว่าเพื่อเราจะได้วีซ่าถาวร ถ้าอยู่ที่นี่ได้ถาวรแล้วก็ไม่ต้องกังวนเรื่องวีซ่าอีก

      Delete
  8. พี่หญิงค่ะ ถ้าเราจะจดทะเบียนกับคนไทยที่เขาไปอยู่ที่เยอรมันตั้งแต่เด็ก คือตอนนี้เขามีวีซ่าถาวรที่เยอรมันแล้วอ่ะค่ะ เราต้องทำยังไงค่ะ เราเหมือนที่จะจดทะเบียนกับคนเยอรมันหรือป่าวค่ะ ตอนนี้กำลังจะทำเรื่องอ่ะค่ะ แต่ไม่รู้จะต้องทำยังไงก่อนดีค่ะ ช่วยแนะนำด้วยนะค่ะ ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ

    ReplyDelete
  9. ถ้ามี baby ก่อนจดทะเบียน แต่งงาน เวลาขอวีซ่าง่ายและเร็วกว่าหรือเปล่าค่ะ แล้วจะได้เป็นวีซ่าถาวรโดยอัตโนมัติเลยไหมค่ะ

    ReplyDelete
  10. สวัสดีค่ะ มีคำถามนะคะ พี่หญิง ถ้าดิชั้นทำงานอยู่ต่างประเทศ(ตะวันออกกลาง) แต่จะจดทะเบียนสมรสกับชาวเยอรมัน ที่ประเทศเยอรมันี จะทำสอบ A1 รึป่าวคะ ถ้าไม่มีจุดประสงค์ที่จะอยู่เยอรมันนี

    ReplyDelete

Followers