cover

cover

Tuesday, November 17, 2009

จดทะเบียนสมรสในต่างประเทศ (เยอรมัน)

มีขั้นตอนดังต่อไปนี้


1. ขอ หนังสือรับรองความเป็นโสด (ฝ่ายไทย)

- ขอได้จาก ที่สำนักงานเขตหรืออำเภอที่เรามีชื่ออยู่ตามทะเบียนบ้าน

- เอกสารที่จำเป็นต้องใช้ คือ

1. บัตรประชาชนตัวจริง + สำเนา

2.ทะเบียนบ้านตัวจริง + สำเนา

3.พยานบุคคล 2 คน อาจเป็นพ่อแม่ พี่น้อง หรือเพื่อนก็ได้


หมายเหตุ

- ทางเขตจะให้เราเขียนคำร้อง ให้เราระบุในคำร้องว่า เพื่อเอาไปจดทะเบียนสมรสกับคนต่างชาติ ทางเขตหรืออำเภอก็จะทำเป็นหนังสือรับรองความเป็นโสด โดยระบุว่าเราไม่เคยจดทะเบียนสมรสกับบุคคลใด



2. ขอ คำร้องงานทะเบียนครอบครัว (ฝ่ายไทย) จำนวน 2 ชุด จากสำนักงานทะเบียนกลาง เพื่อตรวจสอบประวัติการสมรสอีกครั้ง ที่สำนักงานทะเบียนกลางที่นางเลิ้ง กรุงเทพ อยู่ตรงข้ามกับ ธกส. โดยเอาสำเนาบัตรประชาชนไปด้วย อาคาร ๓ ชั้นหนึ่ง


หมายเหตุ เบอร์ติดต่อ โทร ๐๒-๓๕๖๙๖๕๘ เวลา 8.00 ถึง 16.00 น. วันจันทร์ถึงศุกร์


3. นำเอกสารของฝ่ายไทย ไปแปลเป็นภาษาเยอรมัน โดยสถาบันที่แปลจะต้องได้รับการรับรองจากศาลเยอรมันเท่านั้น

เอกสารที่ต้องแปล คือ

3.1 หนังสือรับรองความเป็นโสด

3.2 คำร้องงานทะเบียนครอบครัว

3.3 สูจิบัตร

3.4 ทะเบียนบ้าน


หมายเหตุ วันที่นำเอกสารไปแปล ให้ถ่ายสำเนาเอกสารไว้อย่างน้อยอย่าง 2-3 ชุด

- ค่าแปลเอกสารประมาณ หน้าละ 1,000 บาท

- สถานที่รับแปล คือ สถาบันสอนภาษาเกอเธ่ ใช้เวลาแปลประมาณ 3 วัน หรือ บริษัทรับแปลอื่นๆ (อันนี้ลองค้นหาข้อมูลในเน็ตเอานะจ๊ะ)

- แปลเสร็จแล้วอย่าลืมตรวจเช็คความถูกต้องด้วยนะคะ อันนี้สำคัญ



4. นำเอกสารทั้งหมดที่แปลเรียบร้อยแล้ว พร้อมสำเนา 2 ชุด ไปยื่นรับรองเอกสารที่สถานฑูตเยอรมัน ถนนสาธร วันจันทร์ ศุกร์ ตั้งแต่เวลา 8.30 12.00 น.

โดยไม่ต้องนัดหมายล่วงหน้า



เอกสารที่ต้องนำไป คือ

4.1 หนังสือเดินทางของฝ่ายไทยตัวจริง + สำเนา 2 ชุด

4.2 หนังสือรับรองความเป็นโสดตัวจริง +ที่แปลเป็นภาษาเยอรมัน + สำเนา 2 ชุด

4.3 คำร้องงานทะเบียนครอบครัวตัวจริง +ที่แปลเป็นภาษาเยอรมัน +สำเนา 2 ชุด

4.4 สูจิบัตรตัวจริง + ที่แปลเป็นภาษาเยอรมัน +สำเนา 2 ชุด

4.5 ทะเบียนบ้านตัวจริง + ที่แปลเป็นภาษาเยอรมัน + สำเนา 2 ชุด


หมายเหตุ

ขั้นตอนนี้ใช้เวลาประมาณ 4 สัปดาห์ในการรับรองเอกสาร

- ค่าใช้จ่ายขึ้นอยู่กับกรณีและอัตราแลกเปลี่ยน ณ ขณะนั้น ส่วนใหญ่ประมาณ ชุดละ 1,170 2,000 บาท

- เมื่อสถานฑูตรับรองเอกสารเรียบร้อยแล้ว ก็จะโทรมาแจ้งให้เราไปรับเอง หรือให้ทางสถานฑูตจัดส่งไปให้ฝ่ายเยอรมันที่เยอรมันก็ได้



***ในระหว่างขั้นตอนนี้ ฝ่ายไทยสามารถดำเนินการยื่นวีซ่าสมรสได้เลย

โดยด้องโทรจองคิวนัดล่วงหน้ากับทางสถานฑูต และเอกสารที่ต้องใช้ คือ


1.รูปถ่ายหน้าตรง ฉากหลังสีขาว 4 รูป

2.สำเนาหนังสือเดินทางที่ผ่านการรับรองโดยสถานฑูตเยอรมัน

3.ใบสอบผ่านภาษาเยอรมันขั้นพื้นฐาน หรือที่เรียกว่า A1 : Start deutsch 1

(หากยังอยู่ระหว่างการดำเนินการสอบอยู่ ค่อยยื่นที่หลังก็ได้)

4.สำเนาเอกสารแต่งงานทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้น +สำเนาที่แปลเป็นภาษาเยอรมันแล้ว




5. เมื่อเรา(ฝ่ายไทย)ได้รับเอกสารที่ทางสถานฑูตรับรองว่าถูกต้องไม่มีการปลอมแปลงแล้ว ให้จัดส่งเอกสารทั้งหมด ให้ฝ่ายเยอรมัน เพื่อขอหนังสือรับรองสถานะการสมรส หรือที่เรียกว่า Ehefähigkeitszeugnis ซึ่งอนุญาตให้ฝ่ายเยอรมันจดทะเบียนสมรสได้


อย่าลืม *** เอกสารที่ต้องส่งไปให้ฝ่ายเยอรมันด้วยนอกจากเอกสารแต่งงานแล้ว คือ

1.สำเนาหนังสือเดินทางของฝ่ายไทยที่ผ่านการรับรองจากสถานฑูตเยอรมัน

2. หนังสือมอบอำนาจให้ฝ่ายเยอรมันสามารถดำเนินการเรื่องจดทะเบียนสมรสแทนเราที่ เยอรมัน ที่เรียกว่า Vollmacht zur Anmeldung der Eheschliessung (ขอได้จากสถานฑูตเยอรมัน ถนนสาธร)

3.กรณีฝ่ายไทยที่เคยหย่ามาก่อน จะต้องมีเอกสารตรวจสอบการหย่าร้างด้วย (อันนี้ไม่ค่อยแน่ใจ ลองถามสถานฑูตอีกที)


เอกสารสำหรับฝ่ายเยอรมันเพื่อขอ Ehefähigkeitszeugnis คือ

1. หนังสือเดินทาง หรือ บัตรประชาชน

2. ใบรับรองถิ่นพำนักในประเทศเยอรมัน หรือ ใบแจ้งย้ายสำมะโนครัวออกจากประเทศเยอรมัน

3. สูติบัตร หรือ สำเนาที่คัดจากสมุดทะเบียนครอบครัว (ของบิดา-มารดา)

4. คำพิพากษาหย่าที่มีตราประทับรับรองว่ามีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย หรือ มรณบัตรของคู่สมรสเดิม


หมายเหตุ


- คู่สมรสฝ่ายเยอรมันจะต้องยื่นคำร้องทางสำนักทะเบียนที่ตนมีถิ่นพำนักสังกัด ในประเทศเยอรมัน หรือ ในกรณีที่ไม่มีถิ่นพำนักในประเทศเยอรมันต้องยื่นคำร้องขอไปยังส ำนักทะเบียนเยอรมันที่ผู้ร้องเคยแจ้งพำนักอยู่เป็นครั้งสุดท้าย

แบบฟอร์มคำร้องขอรับได้ที่สถานทูต สำนักทะเบียนเยอรมัน หรือจากเว็บไซต์ www.berlin.de/standesamt1/partner schaft

ทั้งนี้ในการยื่นคำร้อง ฝ่ายเย อรมันจะต้องแสดงเอกสารของคู่สมรสฝ่ายไทยต่อนายทะเบียนเยอรมันด้วย

เพราะนายทะเบียน จะต้องตรวจสอบว่าคู่สมรสทั้งสอง มีคุณสมบัติครบถ้วนตามกฎหมายเยอรมันที่จะทำการจดทะเบียนสมรสกัน หรือไม่


อ้างอิง

http://www.bangkok.diplo.de/Vertretung/bangkok/th/04/Heirat/ Heirat__unterbereich.html



6. เมื่อสำนักทะเบียนที่เยอรมันตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารแล้ว ฝ่ายเยอรมัน ต้องขอใบอนุญาตจากศาลสูงเพื่อตรวจสอบและอนุมัติจดทะเบียนสมรสอีกครั้งหนึ่ง ขั้นตอนนี้ใช้เวลาประมาณ 4 สัปดาห์


7.เมื่อได้รับใบอนุญาตจากศาลแล้ว เราก็สามารถระบุวัน เวลาที่จดทะเบียนสมรส เพื่อจดทะเบียนสมรสได้


8.หลังจากนั้น สถานฑูตจะโทรแจ้งผลการอนุมัติวีซ่าสมรสให้กับฝ่ายไทย ...




1 comment:

  1. very hard. now i want to marry in denmark too.but very hard for me too.

    ReplyDelete

Followers